โรคกรดไหลย้อน
สุขภาพ
โรคกรดไหลย้อน หมายถึงภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก
โครงสร้างของกระเพาะอาหาร
เมื่อเรารับประทานอาหารทางปาก อาหารจะถูกเคี้ยว และกลืนเข้าหลอดอาหาร อาหาร จะถูกบีบไล่ไปยังกระเพาะอาหาร ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหาร และหลอดอาหารจะมีหูรูด หรือที่เรียกว่า Sphincter ทำให้ที่ปิดมิให้อาหารหรือกรดไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร เมื่ออาหารอยู่ในกระเพาะจะมีกรดออกมาจำนวนมาก เมื่ออาหารได้รับการย่อยแล้วจะถูกการบีบไปยังลำไส้เล็ก ดังนั้นหากมีกรดไหลย้อนไปยังหลอดอาหารก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก
โรคกรดไหลย้อนคืออะไร
คือภาวะที่กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร กรดไหลย้อนทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือ แสบหน้าอก บางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว
สาเหตุของกรดไหลย้อน
-Hiatus hernia (คือโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้นเข้าไปในกำบังลม)
-ดื่มสุรา
-อ้วน
-ตั้งครรภ์
-สูบบุหรี่
-อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารมักดอง อาหารมัน อาหารย่อยยาก
-ทานอาหารมากจนอิ่มเกินไป
-ช้อกโกแลต กาแฟ น้ำอัดลม
-คนเครียด
-อาหารมัน ของทอด
-หอมกระเทียม
-มะเขือเทศ
อาการของกรดไหลย้อน
-อาการทางหลอดอาหาร
-อาการปวดเสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้มปี่ที่เรียกว่าร้อนใน (heart burn) บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอได้
-รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ
-กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
-เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
-รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
-มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคอตลอดเวลา
-เรอบ่อย คลื่นไส้
-รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
-อาการทางกล่องเสียง และปอด
-เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้าหรือมีเสียงผิดปกติจากเดิม
-ไอเรื้อรัง
-ไอ หรือ รู้สึกสำลักในเวลากลางคืน
-กระแอมไอบ่อย
-อาการหอบหืดแย่ลง
-เจ็บหน้าอก
-เป็นโรคปอดอักเสบเป็นๆหายๆ
การรักษากรดไหลย้อน
-การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มาก
-งดบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก และหูรูดอ่อนแรง
-ใส่เสื้อหลวมๆ
-ไม่ควรจะนอน ออกกำลังกาย หรือยกของหนักหลังออกกำลังกาย
-งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง
-งออาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช้อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ เผ็ด เปรี้ยว เค็มจัด
-รับประทานอาหารพออิ่ม
-หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา
-นอนหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยหนุนที่ขาเตียง ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะเพราะทำให้ความดันในช่องท้องสูง
-รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ
-ควรจะเข้านอนหรือเอนกายหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
-ผ่อนคลายความเครียด
การรักษาด้วยยา
-Antacids เป็นยาตัวแรกที่ใช้ สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่มาก
-ใช้ยา proton pump inhibitor ซึ่งเป็นยาที่ลดกรดได้เป็นอย่างดีอาจจะใช้เวลารักษา1-3 เดือน เทื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม---ได้ก็อาจจะลดยาลงได้ยาที่นิยมใช้ได้แก่ omeprazole , lansoprazole , pantoprazole , rabeprazole, และ esomeprazole
-หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดมาก หรือทำให้หูรูดหย่อน เช่น ยาแก้ปวด aspirin NSAID VITAMIN C
-หากให้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรจะต้องตรวจเพิ่มเติมได้แก่
-การกลืนแป้งตรวจกระเพาะ
-การส่องกล้องตรวจกระเพาะ
-การรักษาโดยการผ่าตัด
จ-ะผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
โรคแทรกซ้อน
-หลอดอาหารที่อักเสบอาจจะทำให้เกิดแผล และมีเลือดออด หรือหลอดอาหารตีบทำให้กลืนอาหารลำบาก
-อาจจะทำให้โรคปอดแย่ลง เช่นโรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ
-จะไปพบแพทย์เมื่อไร
-ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์
-อาเจียนบ่อย หรือมีเลือดปน
-กลืนติด หรือกลืนลำบาก
-อุจาระสีดำ หรือมีเลือดปน
-อ่อนเพลีย ซีด
-น้ำหนักลดอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีสาเหตุ
-รับประทานยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
|